จุดเริ่มต้นของโครงการ จุดมุ่งหมาย วิทยากร กำหนดการ สถานที่และ
การเดินทาง
การรับสมัคร เอกสารเผยแพร่ ประมวลภาพ

 

บทความจากแดนไกล

         เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าทารกในครรภ์อาจเกิดมาพร้อมภาวะดาวน์ซินโดรม ในกรณีเช่นนี้แม่ควรทำแท้งหรือไม่
ในยุคไรคช์ที่ ๓ ( สมัยที่อดอล์ฟ  ฮิตเลอร์ ปกครองเยอรมนีนับตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๙๓๔ – ๑๙๔๕ )เด็กๆเหล่านี้ไม่มีสิทธิ์มีชีวิตอยู่ แต่หากเด็กคนใดเกิดมาสมบูรณ์แข็งแรงรัฐบาลจะทำทุกอย่างเพื่อให้พวกเขามีชีวิตอยู่ ความคิดเช่นนี้หวนกลับมาอีกครั้งในยุคสมัยของเรา ในเชิงจิตวิญญาณเราจำเป็นต้องยืนหยัดไม่ยอมรับความคิดเช่นนี้และพิเคราะห์ให้ถ่องแท้ว่าในร่างกายที่เกิดมาพร้อมภาวะดาวน์ซินโดรมนั้นมี “ปัจเจกบุคคล" คนหนึ่งดำรงอยู่   เขาจุติมาสู่ร่างกายนี้เช่นเดียวกับพวกเรา แต่ปัจเจกภาวะของเขามาจุติในร่างกายที่มีความยากลำบากกว่าร่างกายของบุคคลทั่วไป

      ในยุโรปนั้น พาโบลพิเนด้า< Pablo Pineda > เป็นบุคคลผู้มีภาวะดาวน์ซินโดรมคนแรกที่สามารถเรียนจบมหาวิทยาลัยและทำงานเป็นครู  จากประสบการณ์ของผู้เขียนในฐานะแพทย์มักพบว่า พ่อแม่ของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษบ่อยครั้งเป็นพ่อแม่ที่ดีกว่าพ่อแม่ทั่วไปเพราะพ่อแม่กลุ่มนี้มีความอดทนอดกลั้น มีความปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันซึ่งเป็นโอกาสที่เราควรใช้ให้เกิดประโยชน์  การที่เรามีสูตรสำเร็จตายตัวว่าเด็กๆควรจะเป็นอย่างไร ( ดังรายการอาหารในเมนูที่ซ้ำกันและมีให้เลือกไม่หลากหลายนัก) ทำให้ในที่สุดแล้วเราก็เลือกเด็กที่ดูสมบูรณ์แบบและดูเหมือนๆกัน สิ่งนี้ยิ่งทำให้สังคมของเราอ่อนแอลง   ดอกไม้แต่ละชนิดแตกต่างกันแต่ทุกชนิดล้วนงดงาม  การเร่งเร้าให้สังคมกลายเป็นสังคมแห่งความเหมือนกันเป็นเสมือน“ คำสาป” เมื่อทุกคนคิดเหมือนกัน ดูเหมือนกัน อยู่ในเครื่องแบบเดียวกัน ถ้าเป็นเช่นนั้นสังคมของเราก็กลายเป็นสังคมฟาสซิสม์นั่นเอง  (  ลัทธิแห่งการรวมชาติผ่านวิถีเผด็จการ ) 

     ในฐานะกุมารแพทย์ผู้เขียนเห็นว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เปลี่ยนแปลงสังคมของเราอย่างเข้มข้น และเปลี่ยนแปลงผู้คนที่อยู่รอบๆเขาด้วย เด็กๆที่มีภาวะดาวน์ซินโดรมมีพลังด้านจิตใจมากกว่าคนอื่นๆ อารมณ์ความรู้สึกของพวกเขามีอิทธิพลต่อคนรอบข้างซึ่งสิ่งนี้นำมาสู่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คน พวกเขานำความเย็นชาหรือความอบอุ่นมาสู่พวกเรา พวกเขาทำให้เราเป็นมนุษย์มากขึ้นหรือบั่นทอนความเป็นมนุษย์ของเรา  นายแพทย์คาร์ล เคอนิค< Dr. Karl  Koenigคศ. ๑๙๐๒ – ๑๙๖๖> ผู้ก่อตั้งชุมชนบำบัดแนวมนุษยปรัชญา<Camphill Movement >ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง  ได้กล่าวไว้ว่า “ หากเราไม่ใส่ใจดูแลบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เราจะสูญเสียความเป็นมนุษย์ในตัวเราไป เพราะพวกเขามีความยากลำบากในการจุติของตัวตนลงสู่ร่างกายความยากลำบากนี้ก่อให้เกิดสำนึกผิดชอบชั่วดีในตัวเราผู้อยู่ใกล้ชิดเขา  เราต้องการกระบวนการการจุติของตัวตนในคนกลุ่มนี้และกลุ่มคนที่วายชนม์ไปแล้ว เพราะพลังในการจุติของพวกเขาแสดงออกได้โดยผ่านทางพวกเราเท่านั้น

อาจกล่าวได้ว่าในโลกทุกวันนี้ เรายังสามารถดำรงความเป็นมนุษย์อยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือจากบุคคลที่มีความต้องการพิเศษในสังคมของเรา

......................................................................................................................................................................................................


จากส่วนหนึ่งของบทความเรื่อง “ คำถามทางจริยธรรมในระยะก่อนคลอดและระยะสุดท้ายของชีวิต”

โดยกุมารแพทย์ชาวเยอรมัน

เอกสารประกอบการประชุมสภาคนพิเศษครั้งที่ ๒ “ก้าวไปด้วยกัน”