จุดเริ่มต้นของโครงการ จุดมุ่งหมาย วิทยากร กำหนดการ สถานที่และ
การเดินทาง
การรับสมัคร เอกสารเผยแพร่ ประมวลภาพ


          การประชุมสภาคนพิเศษ (Congress for People with Special Needs) เป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคมให้แก่บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ
ได้แสดงออกทางความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เพื่อสื่อสารความต้องการแก่สังคมในฐานะปัจเจกผู้ซึ่งมีเกียรติ ศักดิ์ศรี สิทธิ และความเท่าเทียมกัน
ในความเป็นมนุษย์นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างเครือข่ายผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เพื่อขยาย
องค์ความรู้ตามแนวมนุษยปรัชญา (Anthroposophy) ในการดูแลและพัฒนาศักยภาพแก่บุคคลกลุ่มนี้
         Thomas Kraus นักสังคมบำบัดชาวเยอรมัน ริเริ่มการประชุมสภาคนพิเศษขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๙๘ หรือ
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ และได้ขยายการประชุมสภาคนพิเศษไปยังนานาประเทศ ทั้งยุโรป อเมริกาใต้ และเอเชีย สำหรับประเทศไทย การประชุมนี้
จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ภายใต้ชื่อ “ก้าวไปด้วยกัน” หลังจากนั้น การก็มีการจัดประชุมสภาคนพิเศษในประเทศไทยขึ้นทุก ๒ ปี
โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ การประชุมจะขยายขอบเขตจากประเทศไทย ไปเป็นการประชุมสภาคนพิเศษแห่งเอเชีย ครั้งที่ ๑ และขยายกลุ่ม
เป้าหมายสู่ผู้พิการทุกประเภทและผู้ต้องการการสนับสนุนทางจิตใจ เพื่อเข้าสู่สุขภาวะองค์รวมเช่นกัน
          การจัดประชุมสภาคนพิเศษนี้ เป็นการดำเนินงานภายใต้เครือข่ายจิตอาสาจากภาครัฐและเอกชน โดยมิได้หวังรายได้ตอบแทน หากแต่
เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลจากหลากหลายสาขาวิชา ที่อาสาสมัครร่วมมือรวมพลังในการขับเคลื่อนสังคมให้เกิดความเข้าใจ และการปฏิบัติ
ที่เกื้อกูลแก่บุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อปลุกสำนึกการรู้ตัวของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษให้ตื่นขึ้น ในขณะเดียวกัน คนในสังคมตื่นรู้
และปรับเปลี่ยนมุมมองในการปฏิบัติต่อบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เป็นภาพของสังคมบำบัดอย่างแท้จริง (Social Therapy)